วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2558

เมืองหลวงประเทศสิงคโปร์


ประเทศสิงคโปร์ เมืองหลวงคือ สิงคโปร์ (Singapore)


ประเทศสิงคโปร์
ประเทศสิงคโปร์ไม่มีเมืองหลวงอย่างเป็นทางการ โดยใช้พื้นที่ทั้งประเทศเป็นเมืองหลวงเนื่องจากเป็นประเทศที่เป็นเกาะขนาดเล็ก ตั้งอยู่บริเวณปลายแหลมมาลายู มีเนื้อที่เพียง 697 ตารางกิโลเมตร ประชากรราว 5,300,000 คน สิงคโปร์ถึงแม้จะไม่มีทรัพยากรอะไรเลย แต่ก็นับได้ว่าเป็นประเทศที่มีความเจริญเป็นอย่างมาก โดยเป็นศูนย์ทางด้านเศรษฐกิจ การเงินและการลงทุนของภูมิภาค และถึงแม้จะเป็นประเทศขนาดเล็ก แต่ก็มีบริษัทต่างชาติมาตั้งสำนักงานจำนวนมากมาย มีสนามบินและระบบขนส่งภายในประเทศที่ทันสมัยที่สุดในภูมิภาค ประชากรมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีรายได้สูง มีแหล่งท่องเที่ยวมีเป็นจุดดึงดูดผู้คนจากทั่วโลกมากมายฃ



ที่มา: http://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net/

วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2558

สัตว์ประจำชาติประเทศสิงคโปร์






สัตว์ประจำชาติสิงคโปร์
สิงโต (Lion) สัตว์ประจำชาติสิงคโปร์
สิงโต (Lion) หากชาวสมาชิกอาเซียนอย่างเรา ๆ ท่าน ๆ ได้ยินคำนี้กันแล้ว เป็นต้องนึกไปถึงสัตว์ชนิดหนึ่งที่มีอำนาจแห่งการเป็นเจ้าป่า มีความดุร้าย น่าเกรงขามและเป็นที่หวาดกลัวของเหล่าสัตว์เล็ก สัตว์น้อย รวมถึงสัตว์ใหญ่ประเภทอื่น ๆ ทว่านอกเหนือจากนี้แล้ว สิงโตยังกลับกลายมาเป็นที่มาของชื่อประเทศสิงคโปร์ได้อย่างไม่น่าเชื่อเลยทีเดียว

สำหรับชื่อที่มาของประเทศนั้น มาจากคำว่า สิงหปุระ (Singapura) โดยในภาษาสันสกฤต หมายถึง เมืองแห่งสิงโต จากที่พบตามบันทึกได้มีการกล่าวไว้ว่า เจ้าชายแสงนิลา อุตามา แห่งเมืองปาเล็มบัง (ในปัจจุบันเป็นเมืองหนึ่งของประเทศอินโดนีเซีย) ได้เกิดอุบัติเหตุเรือล่ม จากนั้นได้ลอยไปติดเข้ากับเกาะแห่งหนึ่ง เจ้าชายได้พบสัตว์ชนิดหนึ่งแล้วเชื่อมั่นว่านั่นคือ สิงโต จึงได้ตั้งชื่อเกาะแห่งนี้ว่า ‘สิงหปุระ’ (เมืองแห่งสิงโต) นั่นเอง

สิงโตเป็นสัตว์ที่มีสัญลักษณ์หรือเป็นตัวแทนแห่งความหาญกล้า เด็ดเดี่ยวและเปี่ยมไปด้วยพละกำลัง ทั้งยังมีความดีอันเป็นเลิศ เป็นเจ้าแห่งผืนป่าที่สามารถปกครองเหล่าสัตว์ต่างๆ ให้อยู่ในระบบการปกครองของตนเองได้อย่างยุติธรรม นำพาความสงบและสันติสุขมามอบให้แก่ประชากรภายใต้อำนาจการปกครองของมัน ความหมายอันดีงามนี้ มีผลสะท้อนถึงวิถีชีวิตอันสงบสุขของประชาชนชาวสิงคโปร์ในปัจจุบัน สำหรับชาวอาเซียนที่มีโอกาสได้เดินทางไปเยือนสิงคโปร์ ไม่ว่าจะไปเที่ยวชม เรียนหรือทำงานก็ตาม ล้วนเป็นต้องได้พบเห็นสัญลักษณ์รูปปั้นสิงโตที่มีน้ำพุพุ่งยาวออกมาจากปาก สู่ผืนน้ำเบื้องล่าง ใครไปเห็นเป็นต้องตื่นตะลึงในประติมากรรมอันงดงามแห่งสัตว์ที่มีนามว่า ‘สิงโต’ นี้กันอยู่ไม่น้อย สำหรับรูปปั้นสิงโตสีขาวสะอาด ตั้งตระหง่านอันเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นของประเทศ เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเที่ยวชมอย่างต่อเนื่องมิขาดสาย มองแล้วช่างให้ความรู้สึกอร่ามตาสดใสและใครที่ได้ไปเยือนสิงคโปร์ เป็นต้องเข้าไปถ่ายภาพกลับมาอวดใครต่อใครด้วยรอยยิ้มกลับมาเสมอ


ที่มา: https://sites.google.com

ตราแผ่นดินประเทศสิงคโปร์


ตราแผ่นดินของสิงคโปร์ ประกาศใช้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2502 พร้อมกันกับธงชาติ และ เพลงชาติ ณ ห้องสาบานตนประธานาธิบดีแห่งสิงค์โปร์ ที่ ศาลาว่าการของเมืองสิงคโปร์ ลักษณะของตราแผ่นดิน เป็นรูปสิงโตและเสือถือโล่สีแดงซึ่งมีรูปดาวห้าแฉกสีขาว 5 ดวง และพระจันทร์เสี้ยวสีขาวซึ่งเป็นสัญลักษณ์ สำคัญที่ใช้บนธงชาติของสิงคโปร์ เสือเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงความผูกพันทางประวัติศาสตร์กับประเทศมาเลเชีย และสิงโตเป็นสัญลักษณ์แสดงถึงสิงคโปร์ ด้านล่างของตราแผ่นดินเป็นริบบิ้นสีน้ำเงินจารึกคำขัวญประจำชาติด้วยตัวหนังสือที่ทองว่า ข้างใต้มีคำขวัญ "Majulah singapura:" ซึ่งมีความหมายว่า "สิงคโปร์จงเจริญ"


ที่มา: https://th.wikipedia.org

วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2558

คลิปนำเที่ยวสิงคโปร์

สัญลักษณ์ประเทศสิงคโปร์


เมอร์ไลออน (Merlion) แปลว่า สิงโตทะเล มีหัวเป็นสิงโต ร่างเป็นปลา ยืนอยู่บนยอดคลื่น แรกเริ่มเป็นสัญลักษณ์ของคณะกรรมการการท่องเที่ยวของสิงคโปร์ (Singapore Tourism Board-STB) ออกแบบขึ้นในปี 2507 โดย นายฟราเซอร์ บรูนเนอร์ (Mr.Fraser Brunner) สมาชิกคณะกรรมการฝ่ายของที่ระลึกและผู้ดูแลพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำแวนคลีฟ (Van Kleef Aquarium)

ต่อมาเมื่อวันที่ 20 ก.ค.2509 สิงโตทะเล ( เมอร์ไลออน ) ได้รับการจดทะเบียน เป็นเครื่องหมายการค้าของคณะกรรมการส่งเสริมการท่องเที่ยวของสิงคโปร์ (Singapore Tourist Promotion Board-STPB)

การออกแบบ ผสมผสานเรื่องราวของตำนาน กับความจริงเข้าไว้ด้วยกัน หัวเป็นสิงโต หมายถึงสิงโตที่เจ้าชายซางนิลา อุตามะ พบตอนที่ท่านเจอ เกาะสิงคโปร์ใน ค.ศ. 11 … ตามที่บันทึกไว้ ใน “บันทึกของชาว มาเลย์” (Malay Annals) หางปลาเป็นสัญลักษณ์ของเมืองโบราณชื่อ เทมาเส็ก (Temasek) (เป็นภาษาญี่ปุ่นที่มีความหมายว่า “ทะเล”)


สิงคโปร์ เป็นที่รู้จักกันก่อนที่เจ้าชายซางนิลาจะตั้งชื่อให้ว่า “สิงคปุระ” ที่เป็นภาษา สันสกฤต มีความหมายว่าเมือง (ปุระ) แห่งสิงโต (สิงค์) และยังหมายถึงจุดเริ่มต้นอันต่ำต้อยของสิงคโปร์ ที่ในอดีตเคยเป็นเพียงหมู่บ้านชาวประมง

” เมอร์ไลออน ” ประติมากรรมสัตว์ประหลาดนี้ ต่อมาได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของประเทศสิงคโปร์ ในสายตาทุกประเทศทั่วโลก ที่ไปแล้วควรจะมีรูปถ่าย เพื่อยืนยันว่า “ไปมาแล้ว” (รวมสัญลักษณ์ของสิงคโปร์)


สิงโตทะเล มี 2 ตัว สิงโตทะเลตัวแม่ สูง 8.6 เมตร หนัก 70 ตัน สร้างขึ้นจากซีเมนต์ฟอนดู โดยช่างฝีมือผู้ล่วงลับไปแล้วที่ชื่อ ลิมนางเส็ง (Mr.Lim Nang Seng) ส่วนรูปปั้นตัวที่ 2 ขนาดเล็กกว่า สูงเพียง 2 เมตร หนัก 3 ตัน ถูกสร้างโดยช่างลิมเช่นเดียวกัน ลำตัวทำจากซีเมนต์ฟอนดู ผิวทำจากจานลายคราม และตาทำจากถ้วยชาสีแดงขนาดเล็ก

แต่เดิมแม่สิงโตและสิงโตน้อย ตั้งอยู่ที่ปากแม่น้ำสิงคโปร์ ตรงข้ามกับ Elizabeth Walk ห่างจากที่ตั้งปัจจุบันเพียง 120 เมตร เรียกบริเวณนี้ว่า สวนสิงโตทะเล ( เมอร์ไลออน พาร์ค – Merlion Park) ต่อมาไม่นานบริเวณดังกล่าวก็เป็นสถานที่ยอดนิยมของนักท่องเที่ยว และกลายเป็นสถานที่ในเมืองใหญ่ที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของโลก


นายลีกวนยู (Mr.Lee Kuan Yew) นายกรัฐมนตรีของสิงคโปร์ในขณะนั้นได้ประกอบพิธีติดตั้งรูปปั้นสิงโตในวันที่ 15 ก.ย.2515 มีการติดป้ายบรอนซ์เพื่อเป็นที่ระลึกของโอกาสพิเศษนี้ โดยมีถ้อยคำจารึกไว้ว่า “สิงโตทะเลถูกสร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งการต้อนรับนักท่องเที่ยวทุกคนที่มาเยือนสิงคโปร์”

สิงโตทะเลและสิงโตทะเลน้อยถูกย้ายมายังที่ตั้งปัจจุบันระหว่างวันที่ 23-25 เม.ย.2545 การย้ายที่ตั้งสิงโตทะเลไปอยู่ที่ตั้งใหม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย 7.5 ล้านเหรียญสิงคโปร์

รูปปั้นสิงโตทะเลหันหน้าออกไปยังอ่าวมาริน่า (Marina Bay) ที่มีทัศนียภาพสวยงาม อยู่ติดกับอาคารโรงแรมฟูลเลอตัน ที่มีสวนหย่อมขนาด 2,500 ตารางเมตร
ที่มา:http://travel.mthai.com/

ดอกไม้ประจําชาติสิงคโปร์



กล้วยไม้ในกลุ่ม แวนด้า เป็นดอกไม้ประจำชาติของ สาธารณรัฐสิงคโปร์

ชื่อพื้นเมือง -

ลักษณะทั่วไป แวนด้าเป็นกล้วยไม้ประเภทโมโนโพเดี้ยล ไม่แตกกอ เจริญเติบโตไปทางยอด

รากเป็นรากอากาศ

ใบ ใบมีลักษณะกลม แบนหรือร่อง ใบซ้อนสลับกัน

ดอก สีม่วงและรูปลักษณ์ที่สวยงาม

ผล -

ด้านภูมิทัศน์ พบได้ทั่วไปในประเทศสิงคโปร์





ที่มา: https://sites.google.com

ประชากรประเทศสิงคโปร์



    ประชากร

สิงคโปร์มีประชากร 4.68 ล้านคน อยู่ในวัยแรงงานร้อยละ 65 แรงงานส่วนใหญ่ คือประมาณร้อยละ 32ประกอบอาชีพเฉพาะทาง (Professional and Technical Jobs) อีกร้อยละ 17 อยู่ในภาคการผลิต (Manufacturing)ร้อยละ 15 เป็นนักบริหารจัดการ (Administrative and Managerial Jobs) ร้อยละ 12 อยู่ในภาคบริการ (Business Services) ร้อยละ 6 อยู่ในภาคการเงิน (Financial Services) ที่เหลืออีกร้อยละ 18 ประกอบอาชีพอื่นๆ ประชากรร้อยละ 60 เป็นชาวจีน ร้อยละ 10 เป็นชาวมาเลย์ ร้อยละ 7 เป็นชาวอินเดีย อีกร้อยละ 23 เป็นประชากรเชื้อชาติอื่นๆ ความหลากหลายของประชากรดังกล่าวทำให้สิงคโปร์มีภาษาพูดหลายภาษา อาทิ แมนดาริน อังกฤษ มลายู และทมิฬ

ในด้านศาสนา สิงคโปร์มีเสรีภาพในการนับถือศาสนา โดยร้อยละ 42.5 ของประชากรนับถือศาสนาพุทธ รองลงมาคือ อิสลาม ร้อยละ 14.9 คริสต์ ร้อยละ 14.5 ฮินดู ร้อยละ 4 และอื่นๆ ร้อยละ 24.1


ที่มา:http://www.boi.go.th/thai

วัฒนธรรมประเทศสิงคโปร์

วัฒนธรรมของสิงคโปร์
ประชากรสิงคโปร์มีความหลากหลายทางเชื้อชาติ อีกทั้งส่วนใหญ่ยังยึดถือธรรมเนียมปฏิบัติดั้งเดิม ทำให้สิงคโปร์มีวัฒนธรรมหลากหลาย ทั้งทางด้านอาหาร การแต่งกาย ตลอดจนการเซ่นไหว้วิญญาณบรรพบุรุษ และความเชื่อในเรื่องเทพเจ้าที่แตกต่างกันไป ชาวจีนส่วนมากบูชาเจ้าแม่กวนอิมธิดาแห่งความสุข กวนอูเทพเจ้าแห่งความยุติธรรม รวมถึงเทพเจ้าจีนองค์อื่นๆ ขณะที่ชาวฮินดูบูชาเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ เป็นต้น

เทศกาลสำคัญของสิงคโปร์ ส่วนมากมีความเกี่ยวข้องกับความเชื่อทางศาสนา เริ่มตั้งแต่

- เทศกาลตรุษจีน (Chinese New Year) ในเดือนกุมภาพันธ์ ชาวสิงคโปร์เชื้อสายจีนจะจัดงานเซ่นไหว้เทพเจ้าและงานรื่นเริงสนุกสนานอื่นๆ โดยรัฐบาล ห้างร้าน และบริษัทต่างๆ จะหยุดทำการเป็นเวลา 2 วัน แต่บางแห่งอาจหยุดนานถึง 15 วัน โดยจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ที่ไซน่าทาวน์ มีทั้งขบวนแห่งมังกร การแสดงดอกไม้ไฟ และการแสดงแสงสีเสียงต่างๆ
ธรรมเนียมปฏิบัติของชาวสิงคโปร์เชื้อสายจีน คือ คืนก่อนวันตรุษจีน แต่ละครอบครัวจะกลับมากินข้าวเย็นกันพร้อมหน้าพร้อมตา เมื่อทานกันอิ่มแล้ว พ่อแม่ หรือญาติผู้ใหญ่ก็จะมีการแจกเงิน (อั่งเปา) ให้ลูกหลานที่ยังไม่ได้แต่งงาน เพื่อความเป็นสิริมงคลรับปีใหม่ คล้ายกับคนไทยเชื้อสายจีน





- เทศกาล Good Friday ของชาวคริสต์ในเดือนเมษายน จัดขึ้นเพื่อระลึกถึงการสละชีวิตของพระเยซูบนไม้กางเขน



ที่มา:http://www.lampangvc.ac.th/       

อาหารประจำชาติสิงคโปร์


                    
                                                            ลักสา (Laksa)
ลักซา (Laksa) อาหารยอดนิยมของสิงคโปร์ เป็นก๋วยเตี๋ยวต้มยำ (ใส่กะทิ) ลักษณะคล้ายข้าวซอยของไทย
น้ำแกงเข้มข้นด้วยรสชาติของกะทิ กุ้งแห้ง และพริก โรยหน้าด้วยกุ้งต้ม หอยแครง ลักชามีหลายประเภททั้งแบบที่
ใส่กะทิ และไม่ใส่กะทิ

    

                                                                         ปูพริก

ปูพริก เป็นอาหารสิงคโปร์แท้ ๆ ดั้งเดิมโดยพ่อครัวชาวสิงคโปร์ที่ชื่อว่า CherYam ในปี ค.ศ. 1950 สามารถ
พบได้ในประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ แม้ปูพริกจะชื่อว่าปูพริกแต่ก็รสชาติไม่เผ็ดมาก

สินค้าส่งออกและนำเข้าประเทศสิงคโปร์



สินค้าส่งออก ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป แผงวงจรไฟฟ้า ชิ้นส่วนและอะไหล่เครื่องบิน รถยนต์ ผลิตภัณฑ์เหล็ก เครื่องจักรกล เม็ดพลาสติก ยางพารา เครื่องปรับอากาศและอะไหล่ อัญมณีและเครื่องประดับ เครื่องสำอาง สบู่ ผลิตภัณฑ์รักษาผิว กระดาษ เยื่อกระดาษ ผลิตภัณฑ์พลาสติก ด้ายเส้นใยประดิษฐ์ เครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าสำหรับตัดต่อป้องกันวงจรไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลี อาหารสำเร็จรูปอื่นๆ เป็นต้น




สินค้านำเข้า ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า โครงรถและตัวถัง น้ำมันดิบและน้ำมันเชื้อเพลิงสำเร็จรูป เม็ดพลาสติก เครื่องจักรไฟฟ้า เครื่องจักรใช้ในอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์โลหะ เคมีภัณฑ์ เศษทองแดง เครื่องมือเครื่องใช้ทางการแพทย์ น้ำมันหล่อลื่น น้ำมันเบรก ผ้าผืน อาหารทารก ทองคำ เครื่องจักรกล เป็นต้น

 



ที่มา:http://www.ceted.org/

การเงินประเทศสิงคโปร์



การกำกับดูแลของ The Monetary
AuthorityofSingapore(MAS) โดยมีหน้าที่หลักในการกำหนดนโยบายการเงิน
ของสิงคโปร์ปัจจุบันสิงคโปร์นับเป็นศูนย์กลางการค้าเงินตราต่างประเทศสำคัญ
เป็นอันดับ 4 ของโลก รองจากลอนดอน นิวยอร์ก และโตเกียว นอกจากนั้น
สิงคโปร์ยังเป็นศูนย์บริหารกองทุนที่สำคัญของเอเชียโดยเป็นฐานของสถาบันการเงินหลายเเห่ง

การธนาคารในสิงคโปร์มีการพัฒนามากและปัจจุบันกำลังเปลี่ยนทิศทาง
โดยรัฐบาลจะเปิดทางให้มีการแข่งขันในธุรกิจธนาคารมากขึ้นในอนาคต
ธนาคารของรัฐจึงต้องปรับตัว และเตรียมพร้อมที่จะแย่งชิงลูกค้าเพื่อรับมือ
กับธนาคารใหม่ๆที่จะเข้ามามีบทบาทในตลาด รวมถึงผู้เล่นในรูปแบบใหม่ เช่น
ผู้บริหารกองทุนต่างๆและธนาคารอินเทอร์เน็ต
ปัจจุบันธนาคารสิงคโปร์มีสินทรัพย์ ที่บริหารอยู่เป็นมูลค่าประมาณ 3.6
พันล้านเหรียญสิงคโปร์คาดว่า ตัวเลขจะเพิ่มเป็น 20 พันล้านเหรียญสิงคโปร์
ในอีกห้าปีข้างหน้า และในอนาคตอาจจะมีการช่วงชิงลูกค้าเงินฝากกันครั้งใหญ่
เมื่ออัตราดอกเบี้ยลดต่ำลง อีกทั้ง ธุรกิจเงินฝากจะเปลี่ยนไปเป็นการบริหาร
สินทรัพย์ที่อิงระบบอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ธนาคารมีรายได้เพิ่มขึ้นจากค่าธรรมเนียม
ค่าบริการการกู้/การจำนอง การบริหารสินทรัพย์และการปล่อยสินเชื่อลูกค้า
รายย่อย



ที่มา: https://sites.google.com

แหล่งท่องเที่ยวประเทศสิงคโปร์


                                      ออร์ฮาด


ถนนสายเกษตรกรรมที่ครั้งหนึ่งในอดีตเคยคราคร่ำไปด้วยสวนพริกไทยและเครื่องเทศ แต่ปัจจุบันนี้กลับกลายเป็นถนนช้อปปิ้งเส้นหลักของเมืองสิงคโปร์ เส้นทาง 2.2 กิโลเมตร ที่เต็มไปด้วยร้านค้า ร้านอาหาร โรงแรม ห้างสรรพสินค้าชั้นนำ

                                         วัดพระเขี้ยวแก้ว (Tooth Relic Buddha Temple)



วัดจีนศิลปกรรมสมัยราชวงศ์ถังผสมศิลปะมันดาลา (Mandala) หลังใหญ่โตอลังการ ตั้งตระหง่านอยู่ในไชน่าทาวน์ (China Town) ซึ่งอาคารชั้นบนสุดของวัดได้บรรจุพระสารีริกธาตุพระทนต์ของพระพุทธเจ้าไว้ในสถูปทองคำหนักกว่า 320 กิโลกรัม ที่ได้มาจากการบริจาคของผู้มีจิตศรัทธา นอกจากนี้ภายในวัดก็ยังมีพิพิธภัณฑสถานทางพุทธศาสนาขนาดย่อม ให้ผู้มาสักการะได้ศึกษา และเยี่ยมชมอีกด้วย

                                         ยูนิเวิร์ลซัล สตูดิโอ (Universal Studio)


สวนสนุกชื่อดังในเขตเซนโตซา (Sentosa) ถึงแม้ว่าจะเป็นสาขาของสวนสนุกระดับอินเตอร์เนชั่นแนลจากฝั่งอเมริกา แต่เครื่องเล่นในสวนสนุกจำนวน 18 ชนิดจากทั้งหมด 24 ชนิด ใน 7 โซนประเภทเครื่องเล่น ได้ถูกออกแบบและปรับแต่งให้เข้ากับอรรถรสของนักท่องเที่ยวท้องถิ่นและความนิยมของชาวสิงคโปร์โดยเฉพาะ ถือเป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นของยูนิเวิร์ลซัล สตูดิโอ แห่งนี้

ที่มา:http://www.skyscanner.co.th/news/

สภาพภูมิอากาศสิงคโปร์




ด้านสภาพภูมิอากาศ สิงคโปร์อยู่ในเขตมรสุมทำให้มีอากาศอบอุ่นเกือบตลอดปี มีอุณหภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 25 ํ- 32 ํ เซลเซียส แบ่งเป็น 4 ฤดู คือ

1.ฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ เป็นช่วงอากาศหนาว อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 23 ํ- 26 ํ เซลเซียส โดยอากาศจะเย็นที่สุดในเดือนธันวาคม มีอุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 20 ํ เซลเซียส ช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์จะมีฝนหนักและลมแรงจากอิทธิพลของมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ


2.ฤดูก่อนมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ระหว่างเดือนมีนาคม-พฤษภาคม เป็นช่วงอากาศร้อน อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 31 ํ- 34 ํ เซลเซียส อากาศจะร้อนที่สุดในเดือนพฤษภาคม มีอุณหภูมิสูงสุดราว 36 ํ เซลเซียส


3.ฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ระหว่างเดือนมิถุนายน-กันยายน มีฝนตกหนักและลมแรงจากอิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้


4.ฤดูก่อนมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างเดือนตุลาคม-ธันวาคม เป็นช่วงที่มีอากาศอบอุ่น และไม่มีฝนมากนัก

ที่มา:http://www.boi.go.th/thai/asean/Singapore/capt1_n.html

ชุดประจำชาติสิงคโปร์

สิงคโปร์ไม่มีชุดประจำชาติเป็นของตนเอง เนื่องจากประเทศสิงคโปร์แบ่งออกเป็น 4 เชื้อชาติหลัก ๆ
ได้แก่ จีน มาเลย์ อินเดีย และชาวยุโรป ซึ่งแต่ละเชื้อชาติก็มีชุดประจำชาติเป็นของตนเอง เช่น ผู้หญิง  มลายู

ในสิงคโปร์จะใส่ชุดเกบาย่า (Kebaya) ตัวเสื้อจะมีสีสันสดใส ปักฉลุเป็นลายลูกไม้ หากเป็นชาวจีน ก็จะสวมเสื้อ
แขนยาว คอจีน เสื้อผ้าหน้าซ่อนกระดุม สวมกางเกงขายาว โดยเสื้อจะใช้ผ้าสีเรียบหรือผ้าแพรจีนก็ได้



หญิงเสื้อและผ้าถุง ตัดเย็บด้วยผ้าพิมพ์ลายปาเต๊ะสีสันสดใสคอกลมกว้างแขนเสื้อยาวสามส่วน



ชายสวมเสื้อแขนยาว คอจีน เสื้อผ้าหน้าซ่อนกระดุม สวมกางเกงขายาวโดยเสื้อจะใช้ผ้าสีเรียบหรือผ้าแพรจีนก็ได้

ที่มา:https://sites.google.com/site/mnmasean/chud-praca-chati-singkhpor